วันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ความหมายTHUMB DRIVE , FLASH DRIVE ,HANDY DRIVE


THUMB DRIVE , FLASH DRIVE ,HANDY DRIVE                                           ต่างกันอย่างไร
 เคยสงสัยกันหรือเปล่าคะว่า...Thumb drive, Flash Drive, Handy drive มันแตกต่างกันอย่างไร บางคน อาจคิดว่า มันคืออย่างเดียวกัน …แต่ไม่ใช่ ความสะดวกและง่ายต่อการใช้งานอาจจะแยกไม่ออกถึงความแตกต่าง มาดูกันว่าแตกต่างกันยังไง  มาดูข้อมูลกันค่ะ
 USB

ที่มาคำว่า Thumb drive
  Thumb drive เป็นชื่อทางการค้า คุณสมบัติเหมือน CD-R, Floppy Disk, Hard Disk เป็นหน่วยความจำ ที่เสริมเข้าไปในคอมพิวเตอร์ทาง Port USB และถือเป็นการเก็บข้อมูลรูปแบบใหม่ คือไม่ต้องมีตัว Drive ตัว Disk พกพาได้สะดวกมีขนาดเล็กเท่ากับหัวแม่มือ เป็นยุคแรกๆ ของอุปกรณ์จำพวก Flash Drive ความเร็วในการอ่าน เขียน ประมาณ 500KB/Sec มีความจุอยู่ระหว่าง 8 MB - 1024MB ในปัจจุบันอาจมีมากขึ้น สำหรับราคาในยุคแรกๆ ราคาสูง ขนาดความจุน้อย

ที่มาคำว่า Flash Drive
  Flash Drive มีชื่อจริงว่า USB Mass Storage Device ส่วนใหญ่เรียกกันว่า USB Flash Memory Drive , USB Flash Drive Memory หรือ USB Flash Drive การใช้งานเชื่อมต่อกับ Computer ผ่านทาง Port USB ใช้ Flash Memory เก็บข้อมูล ทำงานเป็น Drive เหมือน HardDisk อ่านและบันทึกข้อมูลได้อย่างเดียวไม่สามารถทำอย่างอื่นได้ ซึ่งเป็นยุคต่อมาจาก Thumb drives ราคาถูกลง ความจุมีมากขึ้น ขนาดของตัว Flash Drive เล็กลงด้วย บางยี่ห้อมีขนาดประมาณ 1 นิ้ว

ที่มาคำว่า Handy drive   Handy drive เป็นชื่อทางการค้า คุณสมบัติและการทำงานเหมือน Flash drive แต่ที่เพิ่มขึ้นมาคือสามารถเล่นไฟล์ Mp3 ไฟล์วีดีโอ ไฟล์รูปภาพ ฟังวิทยุผ่านช่องเสียบหูฟัง และฟังก์ชันอื่นๆ ที่ผู้ผลิตจะใส่ลงไป ใช้แบตเตอรี่มีทั้งแบบใช้ถ่าน AA , AAA หรือถ่านชาตร์ ซึ่งจะชาตร์ถ่านผ่านทาง Port USB รูปลักษณ์สวยงาม แต่มีขนาดใหญ่กว่า Flash drive เนื่องจากต้องใช้แบตเตอรี่ สำหรับราคาแพงกว่า Flash drive อยู่บ้างเหมาะกับผู้ที่ต้องการใช้งานที่หลากหลาย
Flash Drive

วันพุธที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2556

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 2

                                          แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 2

                            เรื่ององค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์

1 ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ แตกต่างกันอย่างไร จงอธิบาย

ตอบ ฮาร์ดแวร์เป็นองค์ประกอบที่จับต้อง สัมผัสหรือมองเห็นได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยทั่วไปมักเป็น
อุปกรณ์ทั้งที่เป็นแบบติดตั้งอยู่ภายในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น ซีพียู เมนบอร์ด แรม และที่ติดตั้งอยู่
ภายนอกเครื่อง เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ จอภาพ เครื่องพิมพ์ สำหรับซอฟต์แวร์เป็นสิ่งที่ไม่สามารถจับต้องได้
เหมือนกับฮาร์ดแวร์ ถือเป็นองค์ประกอบทางนามธรรมมากกว่า แต่สามารถสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้
ตามที่ต้องการ โดยจะบรรจุคำสั่งต่างๆที่มีการเขียนขึ้นมาโดยเฉพาะ ซึ่งมักถูกสร้างมาโดยนักเขียน
โปรแกรมที่มีความชำนาญเป็นพิเศษ
2 หน่วยงานที่ชื่อ SIPA ถูกจัดตั้งโดยกระทรวงใด มีบทบาทและหน้าที่อย่างไรบ้างในวงการซอฟต์แวร์ไทย
ตอบ สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติหรือ Software Industry Promotion Agency
ถูกจัดตั้งโดยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหรือกระทรวง ICT เป็นองค์กรมหาชนที่ทำ
หน้าที่ส่งเสริมให้คนไทยพัฒนาซอฟต์แวร์ไว้ใช้เอง ลดการนำเข้าจากต่างประเทศ รวมถึงพัฒนาเพื่อการ
ส่งออกและนำรายได้เข้าประเทศอีกทางหนึ่ง ปัจจุบันมีเครือข่ายครอบคลุมอยู่ตามหัวเมืองใหญ่ เช่น
กรุงเทพฯ ภูเก็ต ขอนแก่น และเชียงใหม่ เป็นต้น
3 นักวิเคราะห์ระบบกับผู้ใช้งานมีความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องอย่างไรบ้าง จงยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ   นักวิเคราะห์ระบบทำหน้าที่วิเคราะห์และออกแบบระบบสำหรับใช้งานบางอย่างตามที่ผู้ใช้ต้องการ
โดยจำเป็นต้องมีการศึกษา สำรวจความต้องการโดยรวมจากผู้ใช้งานโดยตรง เพื่อนำเอามาเป็นแนวทาง
ในการออกแบบระบบเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายและสามารถใช้งานได้โดยมีข้อจำกัดน้อยที่สุด ผู้ใช้งาน
เองอาจมีส่วนร่วมในการให้ความคิดเห็น ข้อมูลย้อนกลับหรือรูปแบบของระบบงานที่ต้องการให้กับนัก
วิเคราะห์และออกแบบระบบได้ เช่น ต้องการให้วางหรือออกแบบระบบบัญชีเพื่อใช้ในสำนักงานนั้นโดย
เฉพาะ ผู้ใช้จำเป็นต้องให้ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการเบิกรับจ่ายสินค้า การบันทึกสินค้าคงเหลือ การแยก
ประเภทบัญชี ให้กับทีมงานการวิเคราะห์และออกแบบระบบเพื่อเป็นแนวทางในการวางระบบให้สมบูรณ์
เป็นต้น
4 ช่างเทคนิค มีหน้าที่และบทบาทอย่างไรกับงานทางด้านคอมพิวเตอร์
ตอบ   มีหน้าที่หลักคือ การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับระบบในหน่วยงานให้สามารถใช้งานได้ตามปกติ กลุ่ม
คนประเภทนี้ต้องมีทักษะและประสบการณ์ในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี เพราะการปฏิบัติ
งานกับผู้ใช้อาจเกิดปัญหาในการใช้งานได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะกับผู้ใช้งานมือใหม่และไม่มีความชำนาญ
อย่างเพียงพอ ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น เช่น ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์เกิดขัดข้องระหว่างทำงาน ซอฟต์แวร์ที่
นำเอามาใช้ไม่สามารถทำงานได้เหมือนเคย สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นอยู่เสมอ ช่างเทคนิคเหล่านี้จึงเปรียบเสมือนหมอที่ช่วยรักษาคนไข้ให้หายจากอาการผิดปกติบางอย่างได้นั่นเอง

5 Software Engineer เกี่ยวข้องอย่างไรกับกระบวนการผลิตซอฟต์แวร์
ตอบ   เป็นบุคคลในสายงานอาชีพทางด้านคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่วิเคราะห์และตรวจสอบซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นมาอย่างมีแบบแผนโดยอาศัยหลักการทางวิศวกรรมศาสตร์เข้ามาช่วย เช่น วัดค่าความซับซ้อนของซอฟท์แวร์ที่ผลิตขึ้นมา ตรวจสอบดูว่าการเขียนโปรแกรมนั้นถูกต้องตามหลักการเขียนโปรแกรมที่ดีหรือไม่ เป็นกลุ่มคนที่มีทักษะและความเข้าใจในการพัฒนาซอฟต์แวร์มากพอสมควร มีทักษะในการเขียนโปรแกรมได้หลายๆภาษา และสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงทีตั้งแต่ขั้นตอนแรกๆของการสร้างไปจนสิ้นสุดกระบวนการ อาจอยู่ในทีมเดียวกับกลุ่มนักเขียนโปรแกรมและนักวิเคราะห์ระบบ มักพบเห็นได้กับการผลิตซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่ เช่น ระบบปฏิบัติการ หรือการสร้างเกมส์หรือโปรแกรมควบคุมเครื่องจักรขนาดใหญ่ เป็นต้น

6 การดูแลและบริหารระบบเครือข่าย เกี่ยวข้องกับบุคคลตำแหน่งใดมากที่สุด
ตอบ   เป็นลักษณะงานที่เกี่ยวข้องกับบุคคลในตำ แหน่งที่เรียกว่า ผู้ดูแลเน็ตเวิร์ก (Network
Administrator) มากที่สุด โดยจะต้องดูแลและบริหารระบบเครือข่ายให้สามารถทำงานได้อย่างราบรื่น มี
การติดตั้งระบบของเครือข่ายที่รัดกุม สร้างระบบป้องกันการบุกรุกที่มีเสถียรภาพและเฝ้าระวังไม่ให้เกิด
การถูกโจมตีจากผู้ไม่ประสงค์ดีเข้ามายังเครือข่ายในองค์กรได้

7 binary digit คืออะไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับการทำงานของคอมพิวเตอร์ตอบ เลขฐานสอง ที่ประกอบด้วย
ตอบ    ตัวเลขเพียง ตัวเท่านั้นคือ กับ ซึ่งโดยปกติข้อมูลที่จะนำมาใช้
กับคอมพิวเตอร์ได้นั้น จะต้องมีการแปลงรูปแบบหรือสถานะให้คอมพิวเตอร์เข้าใจเสียก่อน จึงจะสามารถ
เอามาใช้งานในการประมวลผลต่างๆ ได้ ซึ่งโดยปกติจะเรียกว่า สถานะแบบดิจิตอล ซึ่งมีเพียงสองสถานะ
เท่านั้นคือ เปิด (1) และ ปิด (0)

8 กระบวนการแปลงข้อมูลปกติให้เป็นเลขฐานสองทางคอมพิวเตอร์ มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ   เริ่มจากข้อมูลตัวอักษรจะถูกป้อนเข้าไปยังระบบผ่านเข้าทางอุปกรณ์รับข้อมูลเช่น คีย์บอร์ด จาก
นั้นสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ของตัวอักษรดังกล่าวจะถูกส่งต่อไปยังระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ เพื่อ
แปลงให้อยู่ในรูปแบบรหัสมาตรฐานที่เข้าใจตรงกัน และนำเก็บไว้ในหน่วยความจำเพื่อรอการประมวลผล
และแปลงกลับออกมาให้อยู่ในรูปแบบของภาพที่สามารถมองเห็นได้ผ่านอุปกรณ์การแสดงผลบางอย่าง
เช่น จอภาพ เป็นต้น

9 การนำเข้าข้อมูลสู่คอมพิวเตอร์ สามารถทำได้โดยวิธีใดบ้าง จงยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ   สามารถนำเข้าข้อมูลได้ วิธีด้วยกันคือ
�� ผ่านอุปกรณ์นำเข้า (input device)
ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายและสะดวกที่สุดสำหรับนำข้อมูลเข้าไปยังคอมพิวเตอร์โดยตรงผ่านอุปกรณ์นำเข้า
ข้อมูลหลายชนิด ขึ้นอยู่กับรูปแบบของข้อมูลด้วยว่าเป็นแบบใดและสามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์
เหล่านั้นได้หรือไม่ ที่รู้จักกันดี เช่น คีย์บอร์ด สแกนเนอร์ ไมโครโฟน เป็นต้น
�� ใช้สื่อเก็บบันทึกข้อมูลสำรอง (secondary storage)
การนำเข้าด้วยวิธีนี้อาจดึงเอาข้อมูลที่มีการบันทึกหรือเก็บไว้ก่อนหน้านั้นแล้ว จากสื่อบันทึกอย่างใดอย่างหนึ่งมาใช้ได้ สื่อบันทึกข้อมูลแบบนี้เรียกว่า สื่อบันทึกข้อมูลสำรอง เช่น ฮาร์ดดิสก์ ดิส
เก็ตต์ หรือซีดี เป็นต้น

10พื้นฐานการทำงานของคอมพิวเตอร์ ส่วนใดที่ถือว่าเป็นเหมือนกับ สมอง” และประกอบด้วยส่วนที่เกี่ยวข้องอะไรบ้าง
ตอบ   ซีพียูหรือหน่วยประมวลผลกลาง เปรียบเหมือนกับ สมอง” ของคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีหน้าที่หลักใน
การประมวลผลคำสั่งที่ได้รับมาว่าจะให้ทำอะไรบ้าง ประกอบด้วยหน่วยสำหรับการทำงานแบ่งออกเป็น
ส่วนๆคือ

  • หน่วยควบคุม (Control Unit)
  • หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic and Logic Unit)
  • รีจิสเตอร์ (Register)

11 ROM และ RAM เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ   ถือเป็นหน่วยความจำเหมือนกัน แต่ ROM เป็นหน่วยความจำที่อ่านได้อย่างเดียว ไม่สามารถ
เขียนหรือบันทึกเพิ่มเติมได้ โดยปกติจะเป็นการเก็บคำสั่งที่ใช้บ่อยและเป็นคำสั่งเฉพาะ มีอยู่กับเครื่อง
อย่างถาวร แม้ไฟจะดับก็ไม่ทำให้คำสั่งต่างๆหายไป ส่วน RAM เป็นหน่วยความจำอีกแบบหนึ่งแต่เมื่อไฟ
ดับหรือปิดเครื่องข้อมูลต่างๆจะถูกลบเลือนหายไปหมด นิยมใช้สำหรับจดจำคำสั่งในระหว่างที่ระบบกำลัง
ทำงานอยู่เพียงเท่านั้น สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ตลอดเวลา

12 machine cycle คืออะไร และมีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ   เป็นวงรอบหนึ่งๆในการทำงานของซีพียู จะเกี่ยวข้องกับการประมวลผลหลักๆโดยการอ่านและดึง
ข้อมูลมาจากหน่วยความจำหลัก เพื่อเก็บเข้าสู่รีจิสเตอร์ในส่วนที่เก็บชุดคำสั่งและตำแหน่งสำหรับประมวล
ผล จากนั้นจะมีการแปลความหมายของชุดคำสั่งว่าจะให้ทำอะไรบ้าง และนำไปทำงานตามที่ได้รับนั้นและ
เก็บผลลัพธ์ที่ได้เพื่อให้ส่วนอื่นๆเรียกใช้ต่อไป โดยจะมีการวนอ่านเพื่อประมวลผลแบบนี้วนซ้ำไปเรื่อยๆ
จนกว่าจะจบโปรแกรมหรือชุดคำสั่งในการทำงานทั้งหมด

13 ขั้นตอนช่วง E-Time ประกอบด้วยขั้นตอนอะไรบ้าง
ตอบ   Exectutioin Time หรือเวลาปฏิบัติการ เป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอนในวงรอบการทำงานของซีพียู
ประกอบด้วยขั้นตอนของการปฏิบัติการ (Execute) และขั้นตอนการเก็บผลลัพธ์ (Store)

วันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2556

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

             แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

 1.ลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์โดยทั่วไปประกอบด้วยอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ. ลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์ทั่วไปประกอบด้วย
 1) ความเป็นอัตโนมัติ (Self Acting) คอมพิวเตอร์ได้มีการประดิษฐ์ขึ้นด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ดังนั้นการประมวลผลจึงมีการทำงานแบบอัตโนมัติภายใต้คำสั่งที่ถูกกำหนดไว้
 2) ความเร็ว (Speed) คอมพิวเตอร์มีกาารประมวลผลงานด้วยความเร็วสูงจึงมีความจำเป็นมากต่อการดำเนินงานธุรกรรมในปัจจุบัน
 3) ความถูกต้อง แม่นยำ (Accuracy) คอมพิวเตอร์จะให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง แม่นยำ และมีความผิดพลาดน้อยที่สุด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการป้อนข้อมูลเข้าที่ถูกต้อง
 4) ความน่าเชื่อถือ (Reluability) ในปัจจุบันนี้มีฮาร์ดแวร์ที่ผลิตขึ้นด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่ ทำให้เกิดความผิดพลาดน้อยลงและแทบจะไม่เกิดขึ้นเลย จึงทำให้มีความน่าเชื่อถือสูง
  5) การจัดเก็บข้อมูล (Storage capability) คอมพิวเตอร์มีหน่วยเก็บข้อมูลเฉพาะเป็นของตนเอง ช่วยให้การจัดเก็บและถ่ายเทข้อมูลเป็นไปได้โดยสะดวกมากขึ้น
  6) ทำงานซ้ำๆได้ (Repeatability) คอมพิวเตอร์สามารถคำนวนหาผลลัพธ์ได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะงานที่มีลักษณะซ้ำๆแบบเดิม เช่น การบันทึกรายการบัญชีประจำวัน การลงรายการสินค้าเข้า-ออก เป็นต้น
  7) การติดต่อสื่อสาร (Communication) ด้วยเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้าไปมาก จึงมีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หลายๆเครื่องเข้าด้วยกันเป็นเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายภายในองค์กรเล็กๆหรือระดับเครือข่ายใหญ่ๆ


2.เครื่อง SUAN-PAN เกี่ยวข้องกับประวัติของคอมพิวเตอร์ อย่างไร จงอธิบาย

ตอบ. SUAN-PAN เป็นอุปกรณ์ประเภทลูกคิดที่เอามาใช้สำหรับคำนวณของชาวจีนในสมัยก่อน
เพื่อช่วยในการคิดหาผลลัพธ์ได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นวิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันในยุคปัจจุบันและยังนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย



3.แท่งคำนวณของเนเปียร์(Napier's bone) สร้างขึ้นมาโดยใคร และมีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง
ตอบ. นักคณิตศาสตร์ชาวสก็อตชื่อ จอห์น เนเปีย ( John Napier) การทำงานของ Napier’s Bone เมื่อต้องการคูณตัวเลขใด ๆ ก็จะเอาตัวเลขนั้น ๆ มาเรียงต่อกัน เช่น ต้องการเลข 46732 ก็จะนำเอาแท่งตัวเลข 4 6 7 3 และ 2 มาวางเรียงต่อกัน แล้วใช้แท่งดรรชนี ( Index) ซึ่งเป็นแท่งหลักที่ใช้ในการหาผลลัพธ์จากการคำนวณมาไว้ด้านหน้า จากนั้นนำมาเทียบเคียงให้ตรงกับตัวเลขนั้น ๆ แล้วทำการคูณและหาผลลัพธ์ได้เลย เช่น ต้องการคูณตัวเลข 46732 ด้วยเลข 3 ก็สามารถหาผลลัพธ์ได้ดังนี้

ตัวคูณ
ผลลัพธ์
3 คูณ 4 (หลักหมื่น)
1 2 0 0 0 0
3 คูณ 6 (หลักพัน)
1 8 0 0 0
3 คูณ 7 (หลักร้อย)
2 1 0 0
3 คูณ 3 (หลักสิบ)
9 0
3 คูณ 2 (หลักหน่วย)
6
ค่าตัวเลขที่ได้
1 4 0 1 9 6









4.ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็น "บิดาของคอมพิวเตอร์" คือใคร และเหตุใดจึงได้รับการยกย่องเช่นนั้นตอบ."ชาร์ลส แบบเบจ (Charles Babbage)"เนื่อง จากเขาเป็นผู้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการสร้างเครื่องจักรกลให้สามารถ ทำงานตามคำสั่งได้โดยไม่ต้องมานั่งคำนวณหาผลลัพธ์ใหม่อีกครั้งและได้อาศัย องค์ประกอบในการทำงานที่แบ่งออกเป็นส่วนๆ เสมือนกับต้นแบบของเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคปัจจุบัน

5.เครื่องคอมพิวเตอร์แบบดิจิตอลเครื่องแรกของโลกคือเครื่องใด และจงอธิบายว่าสร้างขึ้นมาด้วยเหตุผลใด
 
ตอบ. ENIAC ถือว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์แบบดิจิตอลเครื่องแรกของโลก สร้างขึ้นเพื่อการช่วยคำนวณวิถีกระสุนปืนใหญ่ของกองทัพสหรัฐอเมริกาในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2

6. John Von Neumann มีบทบาทอย่างไรเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของคอมพิวเตอร์
ตอบ. เขาเป็นผู้เสนอแนวคิดและเผยแพร่ร่วมกับมอชลีและเอิคเคิร์ท ให้มีการพัฒนาเครื่องที่สามารถเก็บข้อมูลเละชุดคำสั่งไว้ภายในได้เอง โดยไม่ต้องมาคอยป้อนข้อมูลเข้าไปใหม่ทุกครั้งซึ่งมันจะทำให้เสียเวลาในการทำงานอย่างมาก



7.เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่ใช้ในเชิงธุรกิจ คือเครื่องใด และนำมาใช้กับงานด้านใดตอบ. เครื่อง UNIVAC (UNIVersal Automatic Computer) นำมาใช้สำหรับทำนายผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีคนที่ 34 ของสหรัฐอเมริกาและมีความเร็วในการทำงานสูงกว่าคอมพิวเตอร์ที่ผลิตก่อนหน้านี้ และยังสามารถเก็บตัวเลขหรือตัวอักษรไว้ในหน่วยความจำได้ถึง 12,000 ตัว


8.ทรานซิสเตอร์กับแผงวงจรรวม เหมือนหรือต่างกันอย่างไรบ้าง จงอธิบายตอบ.  เหมือนกัน เพราะเป็นอุปกรณ์ที่มีขนาดเล็กกว่าหลอดสุญญากาศมาก นอกกจากนี้ยังใช้กระแสไฟฟ้าน้อยกว่า และมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน แต่ก็ยังมีต่างกันบ้างในเรื่องของหน่วยความจำ การทำงาน ความจุของข้อมูล และยุคที่พบเห็นเครื่องคอมพิวเตอร์


9.E-Government คืออะไร จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ. เป็นการนำเอาคอมพิวเตอร์เข้ามาประยุกต์ใช้กับงานทะเบียนราษฎร์ของภาครัฐบาล เช่น แจ้งเกิด ตาย ย้ายที่อยู่ เปลี่ยนแปลงข้อมูลส่วนตัวอื่นๆหรือทำบัตรประจำตัวประชาชน ตัวอย่างเช่น กรมทรัพยากร เปิดให้บริการยื่นแบบเสียภาษีผ่านอินเตอร์เน็ตสำหรับประชาชนทั่วไป(E-Revenue) ซึ่งแต่เดิมต้องเสียเวลามากแต่ปัจจุบันสามารถที่จะผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตแล้วทำรายการต่างๆได้ภายในไม่กี่นาที

10.สายการบินต้นทุนต่ำ (low cost airline) และมีการลดต้นทุนโดนนำเอาคอมพิวเตอร์มาช่วยได้อย่างไร
ตอบ. เป็นสายการบินรูปแบบหนึ่งที่เน้นการลดต้นทุนในการจัดการและบริหารงานให้น้อยที่สุดเพื่อให้ สามารถแข่งขันกันในเรื่องราคาตั๋วโดยสารให้มีราคาที่ถูกลง จึงทำให้มีคนนิยมใช้บริการจำนวนมาก โดยนำเอาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีอันทันสมัยมาช่วยในเรื่องของการสำรองที่นั่ง การรับจองการเดินทาง โดยไม่ใช้แรงงานคนนั้นเอง อาจจะผ่านช่องทางหลายๆ ช่องทาง เช่น โทรศัพท์ อินเทอร์เน็ต โดยไม่จำเป็นต้องออกตั๋วเป็นใบๆให้กับลูกค้า เพียงแค่แสดงบัตรใดๆที่มีรูปถ่ายซึ่งทางราชการออกให้ก็สามารถเดินทางได้ทันที

11.ลักษณะเด่นของสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนหรือ CAI คืออะไร แตกต่างอย่างไรกับสื่อการสอนในอคีต
ตอบ. Computer Assiste Instruction เป็นสื่อการสอนรูปแบบใหม่ที่นำเอาความสามารถของคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีอื่นๆมาสร้างให้อยู่ในรูปแบบของสื่อมัลติมีเดียที่ประกอบด้วย รูปภาพ บทบรรยาย เสียงพูดและเทคนิคการนำเสนอต่างๆ ให้มีความน่าสนใจและก่อให้เกิดการอยากเรียนมากขึ้น นอกจากนี้ก็เพื่อให้ผู้เรียนฝึกทบทวนบทเรียนได้ด้วยตนเองถ้าหากเรียนแล้วไม่เข้าใจก็สามารถเรียนหรือฝึกฝนทบทวนซ้ำเองได้อีก และผู้เรียนที่อยู่ห่างไกลหรือไม่สะดวกในการเข้าเรียนก็สามารถศึกษาในระบบดังกล่าวได้ ซึ่งสื่อแบบเดิมไม่สามารถทำได้
 12.รูปแบบของ E-Banking สามารถทำได้โดยผ่านช่องทางอะไรบ้าง  จงอธิบายพร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบอย่างน้อย 3 ช่องทาง
 ตอบ   ทำได้โดยผ่านช่องทางดังนี้
          
1) ตู้เอทีเอ็ม
          
2) เครือข่ายเว็บไซต์ของธนาคาร
           3) โทรศัพท์มือถือ 
           เช่น  การทำธุรกรรมทางการเงินต่างๆ  การชำระค่าบริการสาธารณูปโภคต่างๆ
  
13.คอมพิวเตอร์มือถือ (Handheld Computer) นำไปใช้ประโยชน์ในด้านใด  และมีความแตกต่างกับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer) อย่างไรบ้าง  จงอธิบายประกอบ
 ตอบ   ประโยชน์ ของการใช้คอมพิวเตอร์มือถืออาจจะนำไปใช้กับการจัดการข้อมูลชีวิตประจำวัน  การสร้างปฏิทิน  นัดหมาย  การดูหนัง  ฟังเพลง รวมถึงการรับส่งอีเมลล์  บางรุ่นอาจมีความเทียบเคียงได้กับไมโครคอมพิวเตอร์ทีเดียว  คอมพิวเตอร์ในกลุ่มนี้ที่รู้จักและนิยมกันอย่างดี  เช่น พีดีเอ ซึ่งปัจจุบันมีหลายมาตรฐาน  และใช้ร่วมกันไม่ได้และยังมีมาตรฐานอื่นๆอีกหลายแบบ  รวมถึงโทรศัพท์มือถือบางรุ่นก็มีความสามารถใกล้เคียงกับคอมพิวเตอร์มือถือ กลุ่มนี้ในแง่ของการรันโปรแกรมจัดการกับข้อมูลทั่วไป  การเก็บบันทึกรายชื่อ  นัดหมายต่างๆ เป็นต้น

14.แท็บเล็ตพีซี (Tablet PC) มีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง จงอธิบายมาพอเข้าใจ
ตอบ. เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์แบบใหม่ที่สามารถป้อนข้อมูลเข้าไปได้โดยการเขียนบนจอภาพเสมือนกับ การเขียนลงบนกระดาษ หน้าจอสามารถพลิกไปมาได้ 2 ลักษณะคือเหมือนกับการใช้งานคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คทั่วไปหรือพับแบบกระดาษรองเขียนหนังสือ ซึ่ง เครื่องนี้มีราคาแพงเมื่อเทียบกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกันอย่างเช่น โน้ตบุ๊คและเดสก์โน้ต



15. PDA Phone คืออะไร จงอธิบายมาพอเข้าใจ
ตอบ.
เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กพกพาแบบใส่กระเป๋าได้เหมาะสำหรับใช้งานเป็นเครื่องความจำต่างๆ การสร้างรายการนัดหมาย ปฏิทิน สมุดโทรศัพท์ เป็นต้น

16.ภาษาธรรมชาติ(natural language) คืออะไร สามารถนำไปใช้ประโยชน์ด้านใดบ้าง
ตอบ.
ภาษาธรรมชาติ คือ การนำเอาความสามารถของคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการสื่อสารกับมนุษย์ให้สะดวกขึ้น สามารถนำไปใช้ในการแยกแยะและวิเคราะห์คำสั่งเสียงที่ได้รับและทำงานตามที่สั่งการได้เอง

ที่มา  http://amying01053.blogspot.com/2012/06/1.html

ประวัติส่วนตัว

ชื่อ นางสาวเบญจวรรณ  ยาดี
คณะ เทคโนโลยีการจัดการ
สาขา  การจัดการทั่วไป
คาบเรียน  วันพูธ บ่าย